วันเสาร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2556

กีฬาสี สาขาการศึกษาปฐมวัย

วันที่ 2  มีนาคม 2556

 
 
 
 


 




งานวิจัย

สรุปงานวิจัย
 
 
ชื่องานวิจัย  การพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมาวัยโดยใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
ผู้วิจัย  คมขวัญ  อ่อนบึงพร้าว
ความมุ่งหมายของการวิจัย           เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
ความสำคัญของการวิจัยการ         วิจัยครั้งนี้เป็นแนวทางของการใช้นวัตกรรม การเรียนการสอนด้วยกระบวนการวิธีของศิลปะรูปแบบต่างๆ มาประยุกต์เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยซึ่งผลการวิจัยเป็นแนวทางให้กับครูและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็กได้พัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์ใหม่ๆให้กับเด็กปฐมวัย เพื่อส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัยและเกิดความหลากหลายในวิชาการศึกษาสำหรับครูมากขึ้น
สรุปผลการวิจัย                   ผลการวิจัยพบว่า  การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยหลังการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในรูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ มีทักษะพื้นฐานทารงคณิตศาสตร์โดยรวมและจำแนกรายทักษะมีค่าเฉลี่ยสูงขึ้นและอยู่ในระดับดีเมื่อเปรียบเทียบก่อนและหลังการทดลองมีคะแนนความสามรถทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

 

 

 

 

 

ทักษะคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


การส่งเสริมการเรียนรู้และการพัฒนาความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ให้แก่
เด็กปฐมวัยนั้นครูหรือผู้เกี่ยวข้องควรทราบว่ามีทักษะจำเป็นอะไรบ้างที่เด็กปฐมวัย
ควรได้รับการส่งเสริมและพัฒนาเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการเรียน
คณิตศาสตร์ของเด็กต่อไป ทักษะที่เด็กปฐมวัยควรได้รับการส่งเสริมและพัฒนานั้น
อาจแบ่งเป็น ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ และทักษะพื้นฐานการคิดคำนวณ
ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ที่จำเป็นสำหรับเด็กปฐมวัยมี 7 ทักษะ ได้แก่
1. ทักษะการสังเกต(Observation)
คือการใช้ประสาทสัมผัสในการเรียนรู้ โดยเข้าไปมีปฏิสัมพันธ์โดย
ตรงกับวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์อย่างมีจุประสงค์ เช่น การจะหาข้อมูลที่เป็น
รายละเอียดของสิ่งนั้น ๆ โดยไม่ใส่ความคิดเห็นของตนเองลงไป
2. ทักษะการจำแนกประเภท(Classifying)
คือ ความสามารถในการแบ่งประเภทของสิ่งของ โดยหาเกณฑ์หรือ
สร้างเกณฑ์ในการแบ่งขึ้น ส่วนใหญ่เด็กจะใช้เกณฑ์ในการจำแนกอยู่ 3 อย่าง
คือ ความเหมือน ความแตกต่าง และความสัมพันธ์ร่วม ซึ่งแล้วแต่เด็กจะเลือกใช้
(ดังนั้นครุควรถามเมื่อจัดกิจกรรมทั้งนี้เพื่อให้ประเมินเด็กได้อย่างถูกต้อง)
ซึ่งเด็กปฐมวัยส่วนใหญ่จะเลือกใช้เกณฑ์ 2 อย่าง คือ ความเหมือน และความต่าง
เมื่อเด็กสามารถสร้างความเข้าใจได้อย่างถ่องแท้เกี่ยวกับความสัมพันธ์แล้ว
เด็กจึงจะจำแนกโดยใช้ความสัมพันธ์ร่วมได้
3. ทักษะการเปรียบเทียบ(Comparing)
คือ การที่เด็กต้องอาศัยความสัมพันธ์ของวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์
ตั้งแต่สองสิ่งขึ้นไป บนพื้นฐานของคุณสมบัติที่มีลักษณะเฉพาะอย่าง เช่น
เด็กสามารถบอกได้ว่าลูกบอลลูกหนึ่งมีขนาดเล็กกว่าลูกอีกลูกหนึ่ง นั่นแสดง
ให้เห็นว่า เด็กเห็นความสัมพันธ์ของลูกบอล คือ เล็ก - ใหญ่ ความสำคัญใน
การเปรียบเทียบ คือ เด็กจะต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะเฉพาะของสิ่งนั้น ๆ
และรู้จักคำศัพท์คณิตศาสตร์ การเปรียบเทียบนับว่าเป็นพื้นฐานสำคัญต่อการเรียน
ในเรื่องการวัดและการจัดลำดับ
4. ทักษะการจัดลำดับ(Ordering)
คือ การส่งเสริมให้เด็กได้พัฒนาความคิดรวบยอดเกี่ยวกับการ
จัดลำดับวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์ ซึ่งเป็นทักษะการเปรียบขั้นสูง เพราะจะต้องอาศัย
การเปรียบเทียบสิ่งของมากกว่าสองสิ่งหรือสองกลุ่ม การจัดลำดับในครั้งแรก ๆ
ของเด็กปฐมวัยจะเป็นไปในลักษณะการจัดกระทำกับสิ่งของสองสิ่ง เมื่อเกิดการพัฒนา
จนเกิความเข้าใจอย่างถ่องแท้แล้วเด็กจึงจะสามารถจัดลำดับที่ยากยิ่งขึ้นได้
5. ทักษะการวัด(Measurement)
เมื่อเด็กมีประสบการณ์เกี่ยวกับการจัดประเภท การเปรียบเทียบ และ
การจัดลำดับมาแล้ว เด็กจะพัฒนาความสามารถเข้าสู่เรื่องการวัดได้ ความสามารถ
ในการวัดของเด็ก จะมีความสัมพันธ์กับความสามารถใสนการอนุรักษ์(ความคงที่)
เช่น เด็กสามารถเข้าใจเกี่ยวกับความยาวของเชือกได้ว่า เชือกจะมีความยาวเท่าเดิม
ถึงแม้ว่าจะเปลี่ยนทิศทางหรือตำแหน่งก็ตาม
6. ทักษะการนับ(Counting)
แนวคิดเกี่ยวกับการนับจำนวน ได้แก่ การนับปากเปล่า บอกขนาดของ
กลุ่มที่มีขนาดเท่ากันโดยไม่ต้องนับ นับโดยใช้ลำดับที่นับจำนวนเพิ่มขึ้น นับเพื่อรู้
จำนวนที่มีอยู่ การจดตัวเลข การนับและเข้าใจความหมายของจำนวน การใช้สัญลักษณ์
แทนจำนวน ในเด็กปฐมวัยชอบการนับแบบท่องจำโดยไม่เข้าใจความหมาย การนับแบบ
ท่องจำนี้จะมีความหมายต่อเมื่อเชื่อมโยงกับจุดประสงค์บางอย่าง เช่น การนับจำนวน
เพื่อนในห้องเรียน นับขนมที่อยู่ในมือ แต่การนับของเด็กอาจสับสนได้หากมีการจัดเรียง
สิ่งของเสียใหม่ เมื่อเด็กเข้าใจเรื่องการอนุรักษ์(จำนวน)แล้วเด็กปฐมวัยจึงจะสามารถ
เข้าใจเรื่องการนับจำนวนอย่างมีความหมาย
7. ทักษะเกี่ยวกับเรื่องรูปทรงและขนาด(Sharp and Size)
เรื่องขนาดและรูปทรงจะเกิดขึ้นกับเด็กโดยง่าย ทั้งนี้เนื่องจากเด็กคุ้นเคย
จากการเล่น การจับต้องสิ่งของ ของเล่น หรือวัตถุรูปทรงต่าง ๆ อยู่เสมอในแต่ละวัน
เราจึงมักจะได้ยินเด็กพูดถึงสิ่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับรูปทรงหรือขนาดอยู่เสมอ ครูสามารถ
ทดสอบว่าเด็กรู้จักรูปทรงหรือไม่ได้โดยการให้เด็กหยิบ/เลือก สิ่งของตามคำบอก
เมื่อเด็กรูปจักรูปทรงพื้นฐานแล้วครูสามารถสอนให้เด็กรู้จักรูปทรงที่ยากขึ้นได้
ทักษะพื้นฐานในการคิดคำนวณ สำหรับเด็กปฐมวัยอาจแบ่งได้ 3 ทักษะ
1. ทักษะในการจัดหมู่
2. ทักษะในการรวมหมู่(การเพิ่ม)
3. ทักษะในการแยกหมู่(การลด)





สรุปมาตรฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


 

บันทึกการเรียน


ครั้งที่ 16 วันที่ 19  กุมภาพันธ์ 2556

กิจกรรมการเรียนการสอน
1. เรื่องเสื้อสูท
2. การสอบนอกตาราง วันที่ 26 ก.พ. 2556
3. งานกีฬาสี - ปัจฉิม วันที่ 2 - 3 มี.ค. 2556
4. ศึกษาดูงานที่หนองคาย - ลาว วันที่ 6 - 8 มี.ค. 2556
5. มาตราฐาน สาระการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์
6. บล็อก
7. อาจารย์ให้นักศึกษาเขียนว่า ได้ความรู้อะไรบ้าง ได้ทักษะอะไรบ้างจากการเรียนวิชานี้ และวิธีการสอนในความเข้าใจของเราคืออะไร


 


 

วันอาทิตย์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียน

ครั้งที่ 15 วันที่ 12  กุมภาพันธ์ 2556
กิจกรรมการเรียนการสอน
        หน่วยเรื่อง อวัยวะภายนอก
วันที่ 1 
        เด็กๆค่ะอวัยวะภายนอกที่เด็กๆมองเห็นมีอะไรบ้างค่ะ
        เด็กยกมือตอบ เเล้วครูก็จดลงบนกระดาน ตามที่เด็กบอก
             
วันที่ 2
        พูดเรื่องลักษณะ รูปร่าง สี พื้นผิว ของอวัยวะ
        เสร็จเเล้วก็ร่วมกันสรุป

วันที่ 3
       -ร้องเพลง ตาเรามีไว้ดู
        ใช้คำถาม ตามีไว้ทำอะไรค่ะ    ดูอะไรได้บ้างค่ะ
         หูเรามีไว้ทำอะไรค่ะ  ฟังอะไรได้บ้างค่ะ   บอกครูสิค่ะว่า จมูกมีไว้ทำอะไรค่ะ ปากละค่ะ
        (ทำเป็นเเมป)
        ไหนบอกครูสิค่ะว่า อวัยวะของเรามีหน้าที่อะไรกันบ้าง
         -สรุป อวัยวะของเรามีหน้าที่เเตกต่างกัน

วันที่ 4
         ประโยชน์ของอวัยวะ (ผลที่จะได้รับ)
          เพื่อนเล่านิทาน เเละก็มาสรุปว่า จมูกดมกลิ่น รู้ว่ากลิ่นหอม (เเยกเเยะกลิ่นได้)
          ถือของ หอบสิ่งของ  สามารถที่จะประกอบอาหารได้

วันที่ 5
          รักษาความสะอาดของอัวยวะภาพนอก (มีภาพ)
          ตา--ผงเข้าตา  ผงเข้าตาให้รีบบอกพ่อ เเม่ เด็กๆทายสิ พ่อ เเม่  จะทำอย่างไร

          
           -สรุปตอนท้ายร่วมกับเด็กๆ