วันจันทร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียน

ครั้งที่ 14 วันที่ 5  กุมภาพันธ์ 2556
กิจกรรมการเรียนการสอน

กลุ่มที่4 สอนหน่วยเรื่อง กระดุม
             วันที่ 1  ชนิดของกระดุม  ( มิ้งค์ )
  นำเข้าสู่บทเรียนโดย1.  ครูร้องเพลง   
    หลับตาเสีย    อ่อนเพลียทั้งวัน
นอนหลับเเล้วฝัน   เห็นเทวดา
มาร่ายมารำ            งามขำโสภา
พอตื่นขึ้นมา           เทวดาไม่มี
                 2.ครูเเจกภาพที่เป็นจิกซอ รูปกระดุม ให้เด็กเป็นบางคน
             3. .ให้เด็กนำภาพที่ได้มาต่อหรือวางให้เกิดเป็นภาพที่สมบูรณ์
            4. เด็กๆบอกคุณครูซิค่ะว่า เป็นภาพอะไร
ชนิดของกระดุม
           กระดุมที่เด็กๆรู้จักมีอะไรบ้างค่ะ เด็กบอกเเละครูก็เขียนตามที่เด็กบอกไว้บนกระดาน
เด็กๆอยากทราบไหมค่ะว่าในขวดนี้มีกระดุมทั้งหมดกี่เม็ด
(อยู่ในการคาดคะเน คือการวัดเเบบไม่เป็นทางการ)
            - ครูนับกระดุมในขวด
                1 2  3 4 5 6 7 
น้องปลาบอกว่ามี7 เม็ด เพื่อนๆปรบมือให้น้องปลาด้วยค่ะ
ไหนใครจะมาช่วยคุณครูหยิบเลขมากำกับไว้ค่ะ
            -ครูมีกระดุมมา ซึ่งประกอบด้วยกระดุมที่มี4รู เเละ 1 รู
เด็กเเยกกระดุมที่มี 1 รู  ออก ได้ 4 เม็ด เเละกระดุมที่มีมากกว่า 1 รู มี3เม็ด

               วันที่ 2 ลักษณะของกระดุม  ( ดิว )
                 กระดุมโลหะ กับ กระดุมอโลหะ จะรู้ได้อย่างไรจะต้องใช้เเม่เหล็กมาดูดเพื่อแยกกระดุม
                  วาดตารางสัมพันธ์
                 
               วันที่ 3 ประโยชน์ของกระดุม  ( มิ้น )
                 อาจารย์ให้ไปแต่งนิทานเกี่ยวกับกระดุมที่สามารถนำมาเชี่อมโยงและสอดแทรกกับคณิตศาสตร์

                วันที่ 4  วิธีการเก็บรักษากระดุม  ( น้ำหวาน )
                 เก็บใส่กล่อง , กระปุก
                 1.เด็ก ๆ บอกครูสิค่ะว่าจะไปหาซื้อกระดุมได้ที่ไหน ?
                 2.เด็ก ๆ รู้ไหมค่ะว่ากระดุมสามารถทำให้เกิดอาชีพใดบ้าง ?
                 3.เด็ก ๆ รู้ไหมค่ะว่าจะต้องเก็บรักษากระดุมได้อย่างไรบ้าง ?
                 
                 วันที่ 5 ข้อควรระวังของกระดุม ( ฝ้าย )
                 **ไม่ได้เข้าเรียน

บันทึกการเรียน

ครั้งที่ 13 วันที่ 29  มกราคม 2556
กิจกรรมการเรียนการสอน
  • อาจารย์ได้ให้นักศึกษา เข้าเรียนพร้อมกันทั้ง 2 เซกพร้อมกัน เพื่อเข้ามาพูดคุยสนทนาเกี่ยวกับเรื่องการทำกิจกรรม และแบ่งภาระหน้าที่ให้แต่ละคน โดยมีรายละเอียด ดังนี้
       1.การแสดงการรำ - สว่างจิต  ( แพทตี้ )
       2.การแสดงร้องเพลง - รัตติยา ( จูน )
       3.การแสดงโฆษณา - นิศาชล ( โบว์ ) , ละไม ( เปิ้ล )
       4.พิธีกร - ลูกหยี , ซาร่า
       5.การแสดงโชว์
               - ลิปซิ่งเพลง - จุฑามาส , นีรชา
               - เต้นประกอบเพลง - พลอยปภัส , เกตุวดี , มาลินี
               - ละครใบ้ - ลูกหมี , จันทร์สุดา
               - ตลก - ณัฐชา , แตง , ชวนชม
        6.ผู้กำกับหน้าม้า - พวงทอง , นฎา
        7.หน้าม้า - เพื่อน ๆ ที่เหลือจะต้องเป็นหน้าม้า

  • อาจารย์ให้ทุกคนช่วยกันสรุปกิจกรรมในวันนี้ว่าสามารถนำไปเชื่อมโยงกับคณิตศาสตร์ได้อย่างไร สามารถสรุป ได้ดังนี้
                         1.การนับ
                         2.การลำดับเหตุการณ์
                         3.การทำตามแบบ
                         4.การบวก

บันทึกการเรียน

ครั้งที่ 12 วันที่ 22  มกราคม 2556
กิจกรรมการเรียนการสอน
  •    อาจารย์พูดเรื่องการอ่านงานวิจัย และให้นักศึกษาไปอ่านและทำความเข้าใจงานวิจัยที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยมาอย่างละเอียด
  •    อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มออกไปสอบสอน โดยสอนทีละคนคนละวันตามที่ได้รับมอบหมาย พร้อมทั้งอาจารย์ได้ให้คำแนะนำการสอนที่ถูกต้อง กลุ่มที่ได้ออกไปสอบสอนวันนี้มี 3 กลุ่ม ได้แก่
   1.กลุ่ม ขนมไทย


  2.กลุ่ม ข้าว

   
 3.กลุ่ม กล้วย
         

บันทึกการเรียน

ครั้งที่ 11 วันที่ 15  มกราคม 2556

กิจกรรมการเรียนการสอน
  • อาจารย์ให้ออกไปสอบสอนเป็นรายกลุ่ม  แต่เพื่อนสอบได้กลุ่มเดียวเพราะอาจารย์ต้องเข้าประชุม

บันทึกการเรียน

ครั้งที่ 10 วันที่ 8 มกราคม 2556

กิจกรรมการเรียนการสอน
สาระ มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดคณิตศาสตร์ปฐมวัย : สสวท.
 สาระที่ 1 : จำนวนและการดำเนินการ
                 คือ เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชิวิตประจำวัน
สาระที่ 2 : การวัด
                 คือ เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาณ เงิน เวลา
สาระที่ 3 : เรขาคณิต
                 คือ รู้จักใช้คำในการบอกทิศทาง ตำแหน่ง และระยะทาง
                 รู้จัก จำแนกรูปเรขาคณิต และเข้าใจการเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิตที่เกิดจากการกระทำ
สาระที่ 4 : พีชคณิต
                 คือ เข้าใจรูปแบบและความสัมพันธ์
สาระที่ 5 : การวิเคาระห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
                 คือ รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับตนเองและสิ่งแวดล้อม และนำเสนอ
สาระที่ 6 : ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์


             หมายเหตุ -  ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ได้แก่ การแก้ปัญหา การใช้เหตุผล การสื่อสาร การสื่อสารทางคณิตศาสตร์และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

           มาตรฐาน
 คือ สิ่งที่ทุกคนยอมรับ
       
    เกณฑ์ คือ  ตัวชีวัดที่เป็นตัวเลข และเป็นที่ยอมรับ และมีคุณภาพ


บันทึกการเรียน

ครั้งที่ 9 วันที่ 1 มกราคม 2556
  • หมายเหตุ 
 ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากเป็นวันหยุด เทศกาลปีใหม่

บันทึกการเรียน

ครั้งที่ 8วันที่ 25 ธันวาคม 2555
  • หมายเหตุ 
ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากเป็นสัปดาห์ของการสอบกลางภาค

บันทึกการเรียน


ครั้งที่ 7 วันที่ 18 ธันวาคม 2555
  •   หมายเหตุ
ไม่มีการเรียนการสอน แต่อาจารย์ให้เคลียร์งานจากที่สั่งในอาทิตย์ที่ผ่านมาให้เสร็จเรียบร้อย คือการ ทำดอกไม้แกนกระดาษทิชชู



บันทึกการเรียน

ครั้งที่ 6 วันที่ 11 ธันวาคม 2555

กิจกรรมการเรียนการสอน
  •  อาจารย์ให้ส่งงานแผนการสอนที่ส่งงานไว้จากอาทิตย์ก่อนหน้า
  •  สั่งงานวิจัยที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์
  • อาจารย์ให้ นศ. นำกล่องขึ้นมา แล้วตอบคำถาม
         * เมื่อเห็นกล่องจะนึกถึงอะไร
         * เมื่อเห็นกล่องแล้วจะทำเป็นอะไร
         * เมื่อเห็นกล่องแล้วจะทำอย่างไร ( สามารถเชื่อมโยงได้อย่างไร )

  • อาจารย์ให้ นศ. จับกลุ่มละ 10 คน แล้วให้นำกล่องที่นำมาช่วยกันต่อให้เป็นรูปร่างอะไรก็ได้โดยห้ามวางแผนหรือพูดคุยกันล่วงหน้า และอาจารย์จะถามกล่องของแต่ละคนว่าที่ได้วางกล่องใบไหนต่อจากเพื่อนแล้วคิดว่าจะต่อเป็นรูปอะไร
         จากนั้นอาจารย์ก็ให้เอากล่องมารวมกันอีกครั้งแล้วให้มีการวางแผนกันล่วงหน้าว่าจะต่อกล่องทั้งหมดภายในกลุ่มให้เป็นรูปอะไร โดยกลุ่มของดิฉันสามารุต่อกล่องออกมาได้เป็นรูป "ช้าง"
     - อาจารย์ให้ นศ. ทั้งหมดในห้องเรียนช่วยกันนำผลงานของแต่ละกลุ่มที่ทำ มาวางรวมกันให้เป็นอะไรก็ได้ตามความคิดสร้างสรรค์

               ดังนั้น  การสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ควรสอนเด็กก่อนอายุ 6 ขวบ เนื่องจากวัยก่อนนี้จะเป็นวัยที่เก็บเกี่ยวความรู้ สามารถรับรู้ และซึมซับได้ด้วยตนเองมากกว่าหลังอายุ 6 ขวบ เนื่องจากหลังจากนี้เด็กจะขาดความมั่นใจในตัวเอง ไม่กล้าตัดสินใจจะทำอะไรด้วยคัวเอง มักชอบเลียนแบบผู้อื่น วิธีการเรียนรู้ที่ดีเด็กจะต้องได้เรียนรู้ด้วยตัวเองด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5  หู   ตา  จมูก  ลิ้น และกายสัมผัส